วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


บทบาทสำคัญของการสื่อสารต่องานวิจัย 

การสื่อสารคืออะไร

ความหมายของการสื่อสาร  การสื่อสาร คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนข่าวสาร เกิดขึ้นโดยการถ่ายทอดสารจากบุคคลฝ่ายหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่ส่งสารผ่านสื่อหรือช่องทางต่าง ๆ ไปยังผู้รับสารโดยมี วัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง

การสื่อสารประกอบด้วย
1. ผู้ส่งสาร คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูล สารไปยังผู้รับสารโดยผ่านช่องทางที่เรียกว่าสื่อ 
2. ข่าวสาร ในการะบวนการติดต่อสื่อสารก็มีความสำคัญ ข่าวสารที่ดีต้องแปลเป็นรหัส เพื่อ
3. สื่อหรือช่องทางในการรับสาร คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส
4. ผู้รับสาร คือ ผู้ที่เป็นเป้าหมายของผู้ส่งสาร การสื่อสารจะมีประสิทธิภาพ ผู้รับสารจะต้องมีประสิทธิภาพในการรับรู้ มีเจตคติที่ดีต่อข้อมูลข่าวสาร ต่อผู้ส่งสารและต่อตนเอง

ถ้าหากเป็นการสื่อสารทางเดียวผู้ส่งจะทำหน้าที่ส่งเพียงประการเดียวแต่ถ้าเป็นการสื่อสาร 2 ทาง
ผู้ส่งสารจะเป็นผู้รับในบางครั้งด้วย ผู้ส่งสารจะต้องมีทักษะในการสื่อสาร มีเจตคติต่อตนเอง
ต่อเรื่องที่จะส่ง ต้องมีความรู้ในเนื้อหาที่จะส่งและอยู่ในระบบสังคมเดียวกับผู้รับก็จะทำให้การ
สื่อสารมีประสิทธิภาพสะดวกในการส่งการรับและตีความ เนื้อหาสารของสารและการจัดสารก็จะต้องทำให้การสื่อความหมายง่ายขึ้นและตัวกลางที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เช่น สิ่งพิมพ์ กราฟิก สื่ออิเลกทรอนิกส์

การสื่อสารมีความสำคัญอย่างไร


การสื่อสารมีความสำคัญดังนี้ 


1.  การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกเพศ  ทุกวัย ไม่มีใครที่จะดำรงชีวิตได้ โดยปราศจากการสื่อสาร   ทุกสาขาอาชีพก็ต้องใช้การสื่อสารในการปฏิบัติงาน  การทำธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะสังคมมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลา   พัฒนาการทางสังคม จึงดำเนินไปพร้อม ๆ กับพัฒนาการทางการสื่อสาร 
2.  การสื่อสารก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและสังคม    ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างคนในสังคม   ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี  สะท้อนให้เห็นภาพความเจริญรุ่งเรือง  วิถีชีวิตของผู้คน  ช่วยธำรงสังคมให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ 

3.  การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทั้งตัวบุคคลและสังคม การพัฒนาทางสังคมในด้านคุณธรรม จริยธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ รวมทั้งศาสตร์ในการสื่อสาร จำเป็นต้องพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์และพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ  



ดังนั้นเราจึงสามารถนำการสื่อสารนี้มาใช้ในการนำเสนองานต่างๆ จากข้างต้นก็สามารถเห็นได้เพียงบางส่วนแล้วว่าการสื่อสารนั้นมีความหมาย ความสำคัญอย่างไร แล้วการสื่อสารนั้นสามารถนำมาใช้ในงานวิจัย และมีบทบาทสำคัญอย่างไรในงานวิจัยบ้าง




บทบาทสำคัญของการสื่อสารต่องานวิจัย


บทบาทสำคัญที่เห็นได้ชัดในเรื่องของงานวิจัย ที่เกี่ยวกับการสื่อสารนั้นมีอยู่ 2 แบบ นั่นคือ การเขียนและการพูด 

การเขียน มีไว้สำหรับการเขียนวิจัย
การพูดมีไว้สำหรับการนำเสนอ

ซึ่งทั้งสองอย่างนี้มีความสำคัยอย่างมากต่อการทำงานวิจัย ซึ่งงานวิจัยจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นสองสิ่งนี้ก็เป็นอคง์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในการตัดสินใจว่าจะผ่านหรือไม่ ดังนั้นเราจึงไม่ควรละเลยในสองสิ่งนี้


การเขียนกับงานวิจัย


หลักสำคัญในการเขียนมีดังนี้
เนื่องจากหลักการเขียนเป็นทักษะที่ต้องเอาใจใส่ฝึกฝนอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดความรู้ความชำนาญ และป้องกันความผิดพลาด ดังนั้น ผู้เขียนจึงจำเป็นต้องใช้หลักในการเขียน ดังต่อไปนี้
1. มีความถูกต้อง คือ ข้อมูลถูกต้อง ใช้ภาษาได้ถูกต้องเหมาะสมตามกาลเทศะ
2. มีความชัดเจน คือ ใช้คำที่มีความหมายชัดเจน รวมถึงประโยคและถ้อยคำสำนวน เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ตรงตามจุดประสงค์
3. มีความกระชับและเรียบง่าย คือ รู้จักเลือกใช้ถ้อยคำธรรมดาเข้าใจง่าย ไม่ฟุ่มเฟือย เพื่อให้ได้ใจความชัดเจน กระชับ ไม่ทำให้ผู้อ่านเกิดความเบื่อหน่าย
4. มีความประทับใจ โดยการใช้คำให้เกิดภาพพจน์ อารมณ์และความรู้สึกประทับใจ มีความหมายลึกซึ้งกินใจ ชวนติดตามให้อ่าน
5. มีความไพเราะทางภาษา คือ ใช้ภาษาสุภาพ มีความประณีตทั้งสำนวนภาษาและลักษณะเนื้อหา อ่านแล้วไม่รู้สึกขัดเขิน
6. มีความรับผิดชอบ คือ ต้องแสดงความคิดเห็นอย่างสมเหตุสมผล มุ่งให้เกิดความรู้และทัศนคติอันเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
ซึ่งหลักการเหล่านี้สามารถนำำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งสำคัญในการเขียนวิจัยได้ 

การพูดกับงานวิจัย 


นอกจากการเขียนแล้ว งานวิจัยต้องได้รับการนำเสนอจากผู้วิจัย ดังนั้นการนำเสอนผ่านการพูดนั้นถือเป้นสิ่งสำคัญที่ผู้ทำวิจัยควรทำความเข้าใจและนำไปใช้ให้ถูกวิธี 

ปัญหาในการนำเสนองานวิจัย

 1. ข้อจำกัดด้านเวลา
2. ตัวหนังสือมากเกินไป Presentation ไม่น่าสนใจ
3. จังหวะการพูดในการนำเสนองานวิจัยเร็วเกินไปช้าเกินไป
4. ข้อมูลไม่เพียงพอ
5. ตอบคำถามไม่เป็น
6. กลัวและตื่นเต้น

เทคนิคในการนำเสนองานวิจัย



1. ควรทำการซ้อมก่อนที่จะนำเสนองานวิจัยจริง เพื่อหาข้อบกพร่องและควบคุมเวลาที่ใช้ในการนำเสนอ
2. ซ้อมตอบคำถามที่คิดว่าจะมีการถาม
3. ควรที่จะนำเสนอจากความเข้าใน ไม่ควรอ่านจากเอกสาร
4. ควบคุมจังหวะการพูด เน้นเสียงหนักเบา เพื่อไม่ทำให้การนำเสนอน่าเบื่อ
5. ลำดับการนำเสนอเริ่มจาก แนะนำตัว ชื่อเรื่อง หัวข้อทั้งหมดที่จะพูด นำเสนอการทดลองเพื่อสนับสนุนแนวคิดให้น่าเชื่อถือ สรุปผล
6. อย่าปฏิเสธในการตอบคำถาม
7. อย่าถามกลับคำถามของผู้ถาม
8. รักษาเวลา

 
รายละเอียดการทำ Presentation


การใช้ Presentation ช่วยให้การนำเสนองานวิจัยสามารถสื่อให้ผู้ฟังเข้าใจงานวิจัยได้ง่ายขึ้น หาก Presentation ไม่ดีก็จะส่งผลต่อการนำเสนองานวิจัยในทางลบได้ รายละเอียดการทำ Presentation ได้แก่
1. ควรจัดวางตำแหน่งต่างๆในสไลด์ให้เหมาะสมเพื่อช่วยให้เนื้อหาเข้าใจง่ายขึ้น เช่นตำแหน่งรูปภาพ ตำแหน่งหัวข้อและเนื้อหาต้องเป็นสัดส่วนกัน
2. ขนาดตัวอักษรไม่ควรมีขนาดเท่ากันหมดจะทำให้เนื้อหาไม่น่าสนใจ เช่นขนาดของหัวข้อต้องใหญ่กว่าขนาดของเนื้อหา และขนาดที่เล็กที่สุดในสไลด์ไม่ควรต่ำกว่า 18 Point
3. ใช้ภาษาที่กระชับเนื่องจากเนื้อที่ในสไลด์มีจำกัด
4. การใส่รูปภาพจะช่วยให้เข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น
5. ใส่หมายเลขหน้าที่มุมของสไลด์เพื่อใช้ในการอ้างถึงหากมีผู้ต้องการถามคำถามและช่วยให้เข้าถึงหน้าที่ต้องการได้ง่ายขึ้น
6. หากหัวข้อที่นำเสนอมีหลายหน้าควรใส่หมายเลขกำกับที่หัวข้อเพื่อให้ผู้ฟังได้รู้ว่ากำลังนำเสนออะไร เช่น ภูมิหลัง  ภูมิหลัง เป็นต้น
7. อาจมีการใส่เนื้อหาโดยย่อไว้ที่ (Notes หรือ  manuscript ขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ใช้) เพื่อช่วยเตือนความจำไม่ต้องเสียเวลาคิดว่าจะพูดถึงเรื่องอะไรในสไลด์นั้นๆ





            ซึ่งจากหลักการเทคนิคต่างๆที่ได้กล่าวมานั้น ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้วิจัยควรทำการศึกษาในการทำงานวิัจัยเพื่อเป้นส่วนใหญ่ให้งานวิจัยนั้นประสบความสำเร็จได้ดีขึ้น

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

The Geometer's Sketchpad
( ซอฟต์แวร์สำรวจเชิงคณิตศาสตร์)





                นวัตกรรมทางการศึกษานั้นมีมากมายที่จะนำมาใ้ช้ประโยชน์กับการศึกษา  สำหรับในทางวิชาคณิตศาสตร์นั้น นวัตกรรมที่มาใหม่และกำลังเป็นที่นิยมใช้ในโรงเรียนอย่างแพร่หลายอยู่นั้น และได้รับการกล่าวถึงอย่างมากในช่วงนี้คงหนีไม่พ้น  GSP ( Geometer's Sketchpad )


GSP ( Geometer's Sketchpad )  มาได้ยังไง แล้วมันคืออะไร ทำไมถึงต้องใช้


                       เนื่องจากสภาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ( สสวท ) ตระหนักในความสำคัญของการส่งเสริมให้ครูคณิตศาสตร์ใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในชั้นเรียน และได้พิจารณาให้เห็นว่า The Geometer's Sketchpad เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ในทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนและนักเรียนจะได้มีปฎิสัมพันธ์กับสื่อิการสอนที่สร้างขึ้นจากโปรแกรมหรือกับโปรแกรมโดยตรงด้วยการสร้างภาพเคลื่อนไหวที่ใช้หลักการทางคณิตศาสตร์และมีโอกาสวิเคราะห์ความสมเหตุสมผลในการสร้างงานและผลงานของตนเอง

              โปรแกรม  The Geometer's Sketchpad ( GSP ) เป็นโปรแกรมคณิตศาสตร์ที่ผลิตจากสหรัฐอเมริกา มีใช้อย่างแพร่หลายกว่า 50 ประเทศทั่วโลก อีกทั้งบรรจุอยู่ในหลักสูตรวิชาคณิตศาสตร์ระดับต่างๆ ถึง 10 ประเทศ สามารถนำไปใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ได้หลายวิชา เช่น วิชาเรขาคณิต พีชคณิต ตรีโกณมิติ และแคลคูลัส

                   GSP เป็นสื่อเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนคณิตศาสตร์โดยการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ( Construct Approach ) โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ( Learner-Centered Learning) โปรแกรม GSP เป็นสื่อที่ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะของการนึกภาพ ( Visualization ) ทักษะของกระบวนการแก้ปัญหา ( Problem Solving Skills ) นอกจากนี้การใช้โปรแกรม GSP ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เป็นการบูรณาการสาระที่เกี่ยวข้องกับความรู้คณิตศาสตร์ และทักษะด้านเทคโนโลยี เข้าด้วยกัน ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสพัฒนาพหุปัญญาอันได้แก่ ปัญญาทางภาษา ด้านตรรกศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ และด้านศิลปะ








        ซึ่งในการศึกษา  The Geometer's Sketchpad ( GSP ) เพื่อนำมาใช้ในการศึกษานั้นสามารถหาได้ทั่วไป และทาง สสวท ก็จัดทำลิงค์เว็บไซต์เกี่ยวกับการศึกษา  The Geometer's Sketchpad ( GSP ) ไว้ตามลิงค์ต่อไปนี้   http://www3.ipst.ac.th/sketchpad/index.phpoption=com_content&view=article&id=168&Itemid=181



มุมเก็บตก ที่อยากนำเสนอ ^^


                   จากการจัดงาน การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ในโรงเรียน  ( วทร )ครั้งที่ 21 ดิฉันได้ไปเจอกับสิ่งใหม่ที่สามารถนำมาใช้กับการศึกษาได้ หรือเราอาจเรียกว่านวัตกรรมที่กำลังเกิดขึ้นกับทางการศึกษาของประเทศเรานั้นเอง

ซึ่งสิ่งใหม่ที่ฉันพบเจอ เป็นApplication ที่สามารถใช้กับมือถือสมาร์ทโฟนทุกรุ่นและแท็บแล็ตที่สามารถโหลดAppที่ชื่อว่า edutool ซึ่งเมื่อเราโหลดAppนี้มาแล้วนั้น เราก็สามารถนำจอภาพที่อยู่ในApp ไปส่องไว้กับกระดาษที่เป็นชุดสื่อการเรียนการสอน ที่เป็นสำหรับเฉพาะ Application นี้ รูปที่จะขึ้นในจอโทรศัพท์หรือแท็บแล็ตนั้น จะแสดงออกมาเป็นภาพสามมิติ และมีเสียงประกอบอีกด้วย ดังรูปต่อไปนี้




              จึงเห็นได้ว่าหากโลกเรายังมีการพัฒนาทางเทคโนโลยีและ การศึกษาในทุกมุมก็ยังคงดำเนินต่อไป  นวัตกรรมใหม่ๆก็จะขึ้นได้ตลอดเวลา และสร้างขึ้นเพื่อเป็นสิ่งเสริมสร้างและเติมเต็มการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้นต่อไป  ดังนั้นครูจึงมีความจำเป้นที่จะต้องปรับเปลี่ยนตนเองให้เท่าทันยุคสมัย ศึกษาหาข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการเรียนการสอนอยู่ตลอดเวลา  และจัดการเรียนการสอนที่ตอบรับความล้ำสมัยของเทคโนโลยีและนวัตกรรม 






วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

Change of Technology

การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีผลต่อกระบวนทัศน์ทางการศึกษาและต่อตนเองอย่างไร






"เทคโนโลยีสารสนเทศ"




  เมื่อพูดถึงคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นหลายๆคนคงเกิดความสับสนว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ เหมือนกับเทคโนโลยีหรือไม่ หรือว่าความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศเหมือนกับนวัตกรรมอีกหรือไม่ ซึ่งความคิดนี้อาจเกิดขึ้นกับหลายๆคน เพราะในสังคมปัจจุบันกลุ่มคนต่างๆนั้น มักจะได้ยินได้ฟังคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศนี้มาจากสื่อต่างๆโดยไม่ได้เข้าใจถึงความหมายของคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างถูกต้อง ว่าเป็นอย่างไร



          เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์   และสามารถใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น     เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึุงการใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือในการจัดการสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ คอมพิวเตอร์  โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ 





แต่ถ้าจะพูดง่ายๆให้เข้าใจกัน เทคโนโลยีสารสนเทศก็คือ การนำเทคโนโลยีมากระทำกับข้อมูลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่ออำนวยความสะดวก


เมื่อเราได้ทราบความหมายที่แท้จริงของเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว เราจึงรู้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นมีบทบาทสำคัญในสังคมโลกมากเพียงใด อีกทั้งเทคโนโลยีสารรสนเทศยังส่งผลกระทบต่อด้านต่างๆ เช่นด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง และการศึกษา เป็นต้น



ในที่นี้เราจะกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศว่ามีผลต่อกระบวนทัศน์ทางการศึกษาอย่างไร และมีผลต่อตนเองอย่างไร




การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศกับกระบวนทัศน์ทางการศึกษา



>> กระบวนทัศน์การศึกษาเดิม <<


        หากเราย้อนกลับไปนึกถึงการศึกษาในยุคก่อนนั้น เราคงมองเห็นภาพห้องเรียนที่มีโต๊ะไม้ ห้องเรียนมีกระดานดำ ไว้สำหรับให้ครูผู้ใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน  องค์ความรู้หลักที่ผู้เรียนจะได้รับก็ต้องขึ้นอยู่กับครูผู้สอนและหนังสือประกอบการเรียน แหล่งค้นคว้าหาความรู้ก็มีห้องสมุดเป็นหลักและหนังสือที่ได้รับการแนะนำจากครูผู้สอน  ดังนั้นการเรียนการสอนก็ขึ้นอยู่กับครูผู้สอนเป็นหลัก  จึงเห็นได้ว่าความรู้ที่เด็กจะได้รับนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับความสามารถของครูผู้สอนและความใฝ่รู้ของตัวนักเรียนเองด้วย  และความรู้ก็อยู่ในมุมมองแคบๆแบบเดิมๆ ไม่ทั่วถึงองค์ความรู้จากทั่วทุกมุมโลก


   เมื่อโลกมีการเปลี่ยนแปลง สิ่งต่างๆและองค์ประกอบต่างๆบนโลกย่อมมีการเปลี่ยนด้วยไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ แม้กระทั่งการศึกษาของเรานั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เราจะเห็นได้ชัดว่าการศึกษามีการเปลี่ยนแปลงเ่มื่อรับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมของเทคโนโลยี ซึ่งสามารถอาศัยสื่อที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่ออำนวยความสะดวกและก่อให้เกิดประโยชน์กับการศึกษา







กระบวนทัศน์ทางการศึกษาเปลี่ยนแปลงอย่างไรเมื่อมีอิทธิพลของเทคโนโลยีสารสนเทศ ?



         จากอิทธิพลของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้หลั่งไหลเข้าสู่สังคมโลกนั้น ทำให้การศึกษาได้อาศัยสื่อที่ทันสมัยทางด้านโทรคมนาคมและการสื่อสาร  เครือข่ายอินเตอร์เน็ต มาใช้ในการจัดการศึกษา  จึงจึงทำให้จากห้องเรียนที่ยึดครูเป็นองค์ความรู้หลักในการจัดการเรียนการสอนนั้น ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยนำเครือข่ายเชื่อมโยงข้อมูลด้านสารสนเทศต่างๆมาใช้จนก่อให้เกิดเป็นแหล่งความรู้ที่นักเรียนสามารถศึกษาหาความรู้เองได้ อีกทั้งยังเป็นการช่วยเปิดโลกทัศน์ต่างๆในการจัดการเรียนการสอนอีกด้วย


อย่างเช่นในด้านการโทรคมนาคมและการสื่อสารนั้น ได้พัฒนาเข้ามามีส่วนช่วยในเรื่อวงการการศึกษา เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ช่วนสอน การค้นหาความรู้ข้อมูลใน world wide web  และในการเรียนการสอนนั้นยังนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาแทนสิ่งเก่า เช่น การนำโปรเจคเตอร์เข้ามาช่วยในการสอน คอมพิวเตอร์ ระบบสื่อมัลติมีเดีย ทำให้ห้องเรียนดูเป็นห้องเรียนสมัยใหม่ที่มีความหลากหลายน่าสนใจมากยิ่งขึ้น


         เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามายังส่งผลประโยชน์ต่อการศึกษามากมาย ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น สื่อทางการศึกษาที่นำมาใช้ช่วยสร้างเร้าความสนใจและสร้างแรงจูงใจในการเรียนให้ดีขึ้นและการเรียนรู้จากสื่อ ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเนื้อหา  จำได้นาน ทั้งยังเรียนรู้เร็วขึ้นอีกด้วย และยังส่งเสริมระดับความเท่าเทียมของการศึกษา เช่นการศึกษาของชนบทที่ห่างไกลก็สามารถเรียนได้จากการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ซึ่งทำให้เกิดความเท่าเทียมทางการศึกษามากยิ่งขึ้น การศึกษายังสามารถเรียนรู้ข้อมูลได้จากทั่วโลกโดยไม่เสียเวลาในการค้นคว้าหรือค้นหาเหมือนสมัยก่อน และผู้เรียนยังสามารถเรียนรู้ได้อย่างอิสระตามเรื่องราวที่ตนเองสนใจได้อีกด้วย ส่งเหล่านี้ล้วนเป็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางที่ถูกที่ควร แต่ก็ใช่ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีประโยชน์อย่างเดียวเท่านั้น หากเราใช้ไม่เป็น ควบคุมไม่ได้บางครั้งเทคโนโลยีอาจก่อเกิดโทษให้กับผู้เรียนก็เป็นไปได้อีกด้วย



สิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นกับการศึกษาเมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทนั่นคือการศึกษามีอยู่รอบๆตัว สามารถค้นหาและเรียนรู้ได้ตลอดเวลาจากเทคโนโลยีที่มีอยู่ และการศึกษาเกิดได้กับทุกวัย  จึงจัดได้ว่าการศึกษาเกิดขึ้นตลอดชีวิตสำหรับทุกๆคน



       ในทุกวันนี้หากโลกยังคงหมุนเวียนเปลี่ยนไปเรื่อยๆ  การพัฒนาทางเทคโนโลยีก็ไม่มีวันสิ้นสุดเหมือนกัน ดังนั้นการศึกษาเราก็จำเป็นที่จะต้องพัฒนาและนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อส่งผลที่ดีในนการเรียนการสอน ในอนาคตต่อไป



การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศกับตนเอง

       เมื่อเกิดการเปลี่ยนของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ส่งผลกระทบกับหลายๆด้านแล้วนั้น เราจะเห็นผลกระทบที่ชัดเจนที่สุดคือตัวเรานั่นเอง จากการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆของเทคโนโลยีในทุกวันนี้ ทำให้ตัวของดิฉันเองนั้น ต้องปรับเปลี่ยนความคิดและการกระทำต่างๆให้แตกต่างไปจากเก่าเหมือนกัน เมื่อมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้นั้น สิ่งแรกที่ทำให้ดิฉันต้องปรับเปลี่ยน คือการทำความรู้จักกับเทคโนโลยี การนำเทคโนโลยีมาใช้ การเรียนการใช้งานของเทคโนโลยี  และนำสิ่งเหล่านี้มาใช้ประโยชน์กับงานของตนเองให้ดีที่สุด  




    ในยุคปัจจุบันนี้ ที่เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของดิฉัน ผลกระทบที่ดิฉันได้รับคือ ดิฉันสามาีรถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ศึกษาหาความรู้ และสามารถเรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองสนใจได้อย่างอิสระจากข้อมูลข่่าวสารที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงทั่วโลก และช่วยลดเวลาในการค้นคว้าหาความรู้ของดิฉันอีกด้วย และอีกอย่างเทคโนโลยีที่ดิฉันใช้อยู่ทุกวันนี้ก็สามารถนำมาเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้เชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารต่างๆอีกด้วย นั้นคือโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเทคโนโลยีที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในขณะนี้ เพราะประโยชน์ของโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนี้สามารถใช้ประโยชน์ต่างๆำได้มากมาย และการพัฒนาเทคโนโลยีก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนทำให้เกิดกิเกสที่จะต้องพัฒนาเทคโนโลยีที่ตนเองที่มีอยู่เพื่อนำมาใช้ประโยชน์แและให้เท่าทันสังคมโลก อีกทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศยังช่วยให้ดิฉันเกิดการเรียนรู้ตลอดเวลา เรียนรู้สิ่งใหม่ๆที่เ้กิดขึ้นจากทุกมุมโลกได้อย่างรวดเร็ว

      จากการพัฒนาของเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆไม่มีสิ้นสุด เมื่อดิฉันนำสิ่งเหล่านี้มาเปรียบจากอดีตถึงปัจจุบันทำให้ดิฉันรู้ว่าการพัฒนาทางเทคโนโลยีคงไม่มีวันสิ้นสุด ดังนั้นดิฉันจึงต้องปรับเปลี่ยนตนเองให้เ้ป็นบุคคลที่พร้อมจะเรียนรู้ตลอดเวลาและเท่าทันสิ่งใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นมาเรื่อยๆ






*^^ เก็บตกมุมน่ารักในโลกแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ  ^^*

         หลังจากปีใหม่ไม่กี่วัน ดิฉันได้ขึ้นรถไฟฟ้าแล้วก็เก็บภาพที่อยู่ตรงหน้ามาฝาก ซึ่งมองไปแล้วรู้สึกประทับใจว่าเป็นภาพที่เราจะเห็นได้น้อยมากในรถไฟฟ้า ในเมืองที่วุ่นวายที่เปี่ยมล้นไปด้วยเทคโนโลยี ผู้คนต่างพากันกดโทรศัพท์ Tablet iphone ipad แต่ก็ยังมีมุมน่ารักอยู่มุมนึงที่เรียกรอยยิ้มให้กับดิฉันได้คือมีเด็กนักเรียนหยิบหนังสือขึ้นมาอ่าน ท่ามกลางโลกเทคโนโลยี เหตุที่ทำให้ดิฉันยิ้ม เพราะคิดว่าน้อยนักที่จะมีเด็กไม่กี่คนที่จะไม่ติดเทคโนโลยีหรือมือถือ แต่หนุ่มน้อยคนนี้เค้าเลือกที่จะอ่านหนังสือบนรถไฟฟ้าตลอดทาง ซึ่งเห็นแล้วมันก็เป็นภาพประทับใจที่อยากจำนำเสนอ  ( วันที่ 3 มกราคม 2556)


        ...........................................................................................................................................