วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


บทบาทสำคัญของการสื่อสารต่องานวิจัย 

การสื่อสารคืออะไร

ความหมายของการสื่อสาร  การสื่อสาร คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนข่าวสาร เกิดขึ้นโดยการถ่ายทอดสารจากบุคคลฝ่ายหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่ส่งสารผ่านสื่อหรือช่องทางต่าง ๆ ไปยังผู้รับสารโดยมี วัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง

การสื่อสารประกอบด้วย
1. ผู้ส่งสาร คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูล สารไปยังผู้รับสารโดยผ่านช่องทางที่เรียกว่าสื่อ 
2. ข่าวสาร ในการะบวนการติดต่อสื่อสารก็มีความสำคัญ ข่าวสารที่ดีต้องแปลเป็นรหัส เพื่อ
3. สื่อหรือช่องทางในการรับสาร คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส
4. ผู้รับสาร คือ ผู้ที่เป็นเป้าหมายของผู้ส่งสาร การสื่อสารจะมีประสิทธิภาพ ผู้รับสารจะต้องมีประสิทธิภาพในการรับรู้ มีเจตคติที่ดีต่อข้อมูลข่าวสาร ต่อผู้ส่งสารและต่อตนเอง

ถ้าหากเป็นการสื่อสารทางเดียวผู้ส่งจะทำหน้าที่ส่งเพียงประการเดียวแต่ถ้าเป็นการสื่อสาร 2 ทาง
ผู้ส่งสารจะเป็นผู้รับในบางครั้งด้วย ผู้ส่งสารจะต้องมีทักษะในการสื่อสาร มีเจตคติต่อตนเอง
ต่อเรื่องที่จะส่ง ต้องมีความรู้ในเนื้อหาที่จะส่งและอยู่ในระบบสังคมเดียวกับผู้รับก็จะทำให้การ
สื่อสารมีประสิทธิภาพสะดวกในการส่งการรับและตีความ เนื้อหาสารของสารและการจัดสารก็จะต้องทำให้การสื่อความหมายง่ายขึ้นและตัวกลางที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เช่น สิ่งพิมพ์ กราฟิก สื่ออิเลกทรอนิกส์

การสื่อสารมีความสำคัญอย่างไร


การสื่อสารมีความสำคัญดังนี้ 


1.  การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกเพศ  ทุกวัย ไม่มีใครที่จะดำรงชีวิตได้ โดยปราศจากการสื่อสาร   ทุกสาขาอาชีพก็ต้องใช้การสื่อสารในการปฏิบัติงาน  การทำธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะสังคมมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลา   พัฒนาการทางสังคม จึงดำเนินไปพร้อม ๆ กับพัฒนาการทางการสื่อสาร 
2.  การสื่อสารก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและสังคม    ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างคนในสังคม   ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี  สะท้อนให้เห็นภาพความเจริญรุ่งเรือง  วิถีชีวิตของผู้คน  ช่วยธำรงสังคมให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ 

3.  การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทั้งตัวบุคคลและสังคม การพัฒนาทางสังคมในด้านคุณธรรม จริยธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ รวมทั้งศาสตร์ในการสื่อสาร จำเป็นต้องพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์และพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ  



ดังนั้นเราจึงสามารถนำการสื่อสารนี้มาใช้ในการนำเสนองานต่างๆ จากข้างต้นก็สามารถเห็นได้เพียงบางส่วนแล้วว่าการสื่อสารนั้นมีความหมาย ความสำคัญอย่างไร แล้วการสื่อสารนั้นสามารถนำมาใช้ในงานวิจัย และมีบทบาทสำคัญอย่างไรในงานวิจัยบ้าง




บทบาทสำคัญของการสื่อสารต่องานวิจัย


บทบาทสำคัญที่เห็นได้ชัดในเรื่องของงานวิจัย ที่เกี่ยวกับการสื่อสารนั้นมีอยู่ 2 แบบ นั่นคือ การเขียนและการพูด 

การเขียน มีไว้สำหรับการเขียนวิจัย
การพูดมีไว้สำหรับการนำเสนอ

ซึ่งทั้งสองอย่างนี้มีความสำคัยอย่างมากต่อการทำงานวิจัย ซึ่งงานวิจัยจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นสองสิ่งนี้ก็เป็นอคง์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในการตัดสินใจว่าจะผ่านหรือไม่ ดังนั้นเราจึงไม่ควรละเลยในสองสิ่งนี้


การเขียนกับงานวิจัย


หลักสำคัญในการเขียนมีดังนี้
เนื่องจากหลักการเขียนเป็นทักษะที่ต้องเอาใจใส่ฝึกฝนอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดความรู้ความชำนาญ และป้องกันความผิดพลาด ดังนั้น ผู้เขียนจึงจำเป็นต้องใช้หลักในการเขียน ดังต่อไปนี้
1. มีความถูกต้อง คือ ข้อมูลถูกต้อง ใช้ภาษาได้ถูกต้องเหมาะสมตามกาลเทศะ
2. มีความชัดเจน คือ ใช้คำที่มีความหมายชัดเจน รวมถึงประโยคและถ้อยคำสำนวน เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ตรงตามจุดประสงค์
3. มีความกระชับและเรียบง่าย คือ รู้จักเลือกใช้ถ้อยคำธรรมดาเข้าใจง่าย ไม่ฟุ่มเฟือย เพื่อให้ได้ใจความชัดเจน กระชับ ไม่ทำให้ผู้อ่านเกิดความเบื่อหน่าย
4. มีความประทับใจ โดยการใช้คำให้เกิดภาพพจน์ อารมณ์และความรู้สึกประทับใจ มีความหมายลึกซึ้งกินใจ ชวนติดตามให้อ่าน
5. มีความไพเราะทางภาษา คือ ใช้ภาษาสุภาพ มีความประณีตทั้งสำนวนภาษาและลักษณะเนื้อหา อ่านแล้วไม่รู้สึกขัดเขิน
6. มีความรับผิดชอบ คือ ต้องแสดงความคิดเห็นอย่างสมเหตุสมผล มุ่งให้เกิดความรู้และทัศนคติอันเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
ซึ่งหลักการเหล่านี้สามารถนำำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งสำคัญในการเขียนวิจัยได้ 

การพูดกับงานวิจัย 


นอกจากการเขียนแล้ว งานวิจัยต้องได้รับการนำเสนอจากผู้วิจัย ดังนั้นการนำเสอนผ่านการพูดนั้นถือเป้นสิ่งสำคัญที่ผู้ทำวิจัยควรทำความเข้าใจและนำไปใช้ให้ถูกวิธี 

ปัญหาในการนำเสนองานวิจัย

 1. ข้อจำกัดด้านเวลา
2. ตัวหนังสือมากเกินไป Presentation ไม่น่าสนใจ
3. จังหวะการพูดในการนำเสนองานวิจัยเร็วเกินไปช้าเกินไป
4. ข้อมูลไม่เพียงพอ
5. ตอบคำถามไม่เป็น
6. กลัวและตื่นเต้น

เทคนิคในการนำเสนองานวิจัย



1. ควรทำการซ้อมก่อนที่จะนำเสนองานวิจัยจริง เพื่อหาข้อบกพร่องและควบคุมเวลาที่ใช้ในการนำเสนอ
2. ซ้อมตอบคำถามที่คิดว่าจะมีการถาม
3. ควรที่จะนำเสนอจากความเข้าใน ไม่ควรอ่านจากเอกสาร
4. ควบคุมจังหวะการพูด เน้นเสียงหนักเบา เพื่อไม่ทำให้การนำเสนอน่าเบื่อ
5. ลำดับการนำเสนอเริ่มจาก แนะนำตัว ชื่อเรื่อง หัวข้อทั้งหมดที่จะพูด นำเสนอการทดลองเพื่อสนับสนุนแนวคิดให้น่าเชื่อถือ สรุปผล
6. อย่าปฏิเสธในการตอบคำถาม
7. อย่าถามกลับคำถามของผู้ถาม
8. รักษาเวลา

 
รายละเอียดการทำ Presentation


การใช้ Presentation ช่วยให้การนำเสนองานวิจัยสามารถสื่อให้ผู้ฟังเข้าใจงานวิจัยได้ง่ายขึ้น หาก Presentation ไม่ดีก็จะส่งผลต่อการนำเสนองานวิจัยในทางลบได้ รายละเอียดการทำ Presentation ได้แก่
1. ควรจัดวางตำแหน่งต่างๆในสไลด์ให้เหมาะสมเพื่อช่วยให้เนื้อหาเข้าใจง่ายขึ้น เช่นตำแหน่งรูปภาพ ตำแหน่งหัวข้อและเนื้อหาต้องเป็นสัดส่วนกัน
2. ขนาดตัวอักษรไม่ควรมีขนาดเท่ากันหมดจะทำให้เนื้อหาไม่น่าสนใจ เช่นขนาดของหัวข้อต้องใหญ่กว่าขนาดของเนื้อหา และขนาดที่เล็กที่สุดในสไลด์ไม่ควรต่ำกว่า 18 Point
3. ใช้ภาษาที่กระชับเนื่องจากเนื้อที่ในสไลด์มีจำกัด
4. การใส่รูปภาพจะช่วยให้เข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น
5. ใส่หมายเลขหน้าที่มุมของสไลด์เพื่อใช้ในการอ้างถึงหากมีผู้ต้องการถามคำถามและช่วยให้เข้าถึงหน้าที่ต้องการได้ง่ายขึ้น
6. หากหัวข้อที่นำเสนอมีหลายหน้าควรใส่หมายเลขกำกับที่หัวข้อเพื่อให้ผู้ฟังได้รู้ว่ากำลังนำเสนออะไร เช่น ภูมิหลัง  ภูมิหลัง เป็นต้น
7. อาจมีการใส่เนื้อหาโดยย่อไว้ที่ (Notes หรือ  manuscript ขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ใช้) เพื่อช่วยเตือนความจำไม่ต้องเสียเวลาคิดว่าจะพูดถึงเรื่องอะไรในสไลด์นั้นๆ





            ซึ่งจากหลักการเทคนิคต่างๆที่ได้กล่าวมานั้น ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้วิจัยควรทำการศึกษาในการทำงานวิัจัยเพื่อเป้นส่วนใหญ่ให้งานวิจัยนั้นประสบความสำเร็จได้ดีขึ้น